แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ด "ออสเตอร์" ไม่มีส่วนผสมของใยหิน เหมาะสำหรับงานฝ้าและผนังทั้งภายในและภายนอก มีคุณสมบัติกันชื้น ไม่ติดไฟ และไม่เสียรูปเมื่อโดนความชื้น ผิวหน้าเรียบสามารถทาสีทับได้ง่าย
CALCIUM SILICATE BOARD APPLICATIONS
การใช้งาน |
สามารถตัดได้ด้วยเลื่อยไฟฟ้า |
การเจาะ |
เจาะได้ด้วยสว่านความเร็วสูง โดยเว้นระยะรูเจาะจากขอบแผ่่นไม่น้อยกว่า 12 มม. |
การยึดติด |
ให้ใช้สว่านความเร็วสูงเจาะนำและยึดแผ่นด้วยสกรูเกลียวปล่อย แล้วอุดด้วยหัวกรูให้สวยงาม |
รอยระหว่างแผ่น |
เว้นร่องประมาณ 4 มม. และเชื่อมรอยต่อโดยการอุดร่องด้วยสารเคมีที่มีความยืดหยุ่น หรือ Joint Compound หรือโพลียูเรเทน |
การตกแต่งผิว |
สามารุถใช้สีน้ำพลาสติกหรืออะคริลิกทาทับได้ หากใช้สีน้ำมันให้ใช้สีรองพื้นก่อน |
|
ความแตกต่างของแผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดเปรียบเทียบกับแผ่นไฟเบอร์ซิเมนต์
แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ด และ แผ่นไฟเบอร์ซิเมนต์ หากดูด้วยสายตาแล้วมักไม่เห็นความแตกต่างเท่าใดนัก แต่ในทางกายภาพแล้วผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งในด้านของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต, ทฤษฎีในการผลิต, กระบวนการผลิต, ตลอดจนคุณสมบัติของสินค้าเมื่อผลิตเสร็จ
ความแตกต่างทางด้านวัตถุดิบ :
แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดผลิตจากแคลเซียม แร่เพอรไรท์ ไฟเบอร์คุุณภาพสูง ในขณะที่แผ่นไฟเบอร์ซิเมน์จะมีส่วนประกอบหลักคือ ซิเมนต์ ทราย และใยกระดาษ
ความแตกต่างทางด้านการผลิต :
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดจะต้องผ่านขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และในระหว่างผลิต เมื่อแผ่นได้รับการขึ้นรูปแล้วยังต้องนำไปผ่านเตาอบประมาณ 8 ชั่วโมง และผ่านขั้นตอน Auto caved ประมาณ 10-18 ชั่วโมง เพื่อให้ปฏิกิริยาเคมีของวัตถุดิบทำงานเต็มที่ ทำให้เราได้แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดที่มีความเสถียรต่อสภาพแวดล้อม (Dimension Stability) ในการใช้งานกล่าวคือแผ่นจะไม่มีการขยาย ยืด หด บวม แตกหัก ให้เห็นภายใต้การใช้งานที่เหมาะสม ในขณะที่ไม่ต้องมีการเตรียมวัตถุดิบใดๆ ในการผลิตแผ่นไฟเบอร์ซิเมนต์ และเมื่อผลิตเสร็จก็เพียงนำไปอบแห้งประมาณ 8 ชั่วโมงหรือนำไปตากให้แห้งประมาณ 24 ชั่วโมงก็สามารถนำออกจำหน่ายได้แล้ว
ความแตกต่างทางด้านทฤษฎีในการผลิต :
แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งอันเกิดจากปฏิกิริยาเคมีของวัสดุที่ไม่แปรงสภาพเป็นเจลหรือวุ้นเมื่อโดนน้ำและความชื้น แต่แผ่นไฟเบอร์ซิเมนต์ทำให้ใยของวัสดุอ่อนนุ่มลง และใช้ซิเมนต์ผสมทรายเป็นตัวประสานวัสดุ ดังนั้นความแข็งแกร่งทนทานของแผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดจึงมากกว่าแม้ความหนาแน่นของแผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดและไฟเบอร์ซิเมนต์จะเท่ากัน
ความแตกต่างทางด้านคุณสมบัติทางกายภาพ :
วัตถุดิบในการผลิตแผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดนั้นเป็นวัตถุดิบที่มีการปรับสภาพคุณสมบัติให้มีความคงที่แล้ว ก่อนที่จะนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิต ดังนั้นเมื่อนำแผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดไปติดตั้งในสภาพการใช้งานจริงจะสามารถทนทานต่ออุณหภูมิ และความชื้น ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้มากกว่า นอกจากนี้แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดยังมีคุณสมบัติพิเศษนอกเหนือจากปกติคือมีค่านำความร้อนต่ำ และมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันไฟ ในขณะที่แผ่นไฟเบอร์ซิเมนต์มีการผลิตที่รวดเร็ว,ประหยัด จึงทำให้มีราคาถูก แต่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ด้อยลง เช่น ความแข็งแกร่ง ความเปราะ การเปลี่ยนแปลงของขนาดมีมากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือความชื้น การนำความร้อนสูงกว่าแผ่นแคลเซียมซิลิเกต และมักไม่นิยมนำมาใช้เป็นฉนวนกันไฟเนื่องจากเมื่อได้รับความร้อนนานในระดับหนึ่งแผ่นจะเปราะและเสียสภาพ
สรุป
จะเห็นได้ชัดว่าด้วยกรรมวิธีการผลิต, วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดนั้นมีต้นทุนที่สูงกว่าแผ่นไฟเบอร์ ซิเมนต์ จึงทำให้แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าทั้งในระยะสั้น
และระยะยาว แผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดจึงได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายในประเทศแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยในแถบเอเชียเองแผ่นแคลเซียมซิลิเกตบอร์ดเองก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นในประเทศที่มีการพัฒนาในการก่อสร้างสูงแล้ว
ลักษณะการใช้งาน |
ความหนาที่เหมาะสม |
การติดตั้ง |
ฝ้าเพดาน
ผนังกั้นห้อง
ผนังกั้นห้องกันไฟ
ผนังโครงสร้างประตูกันไฟ
ผนังโครงสร้างที่มีวัสดุปิดผิว
บริเวณเปียกชื้น
ผนังภายใน
ผนังภายนอก
เชิงชาย/แผ่นรองใต้หลังคา
|
6 mm
6 mm ขึ้นไป
9 mm ขึ้นไป
6 mm
6 mm ขึ้นไป
6 mm ขึ้นไป
6 mm ขึ้นไป
9 mm ขึ้นไป
6-12 mm |
สามารถตัดขนาดได้ด้วยเลื่ยมือ , เลื่อไฟฟ้า , เลื่อยวงเดือน
หรือเจาะได้ด้วยสวานความเร็วสูง โดยใช้
ดอกสว่านหัวประมาณ 2 mm เจาะนำ และใช้
สกรูเกลียวปล่อยขันพร้อมทั้งอุดรอยสกรูให้สวยงาม
ส่วนร่องระหว่างแผ่นให้เว้นประมาณ 4 mm และอุดรอย
ด้วยสาร ที่มีความยืดหยุ่น และฉาบเรียบเพื่อปิดรอยต่อ
หลังจากนั้นสามารถ ใช้สีน้ำพลาสติก หรือสีอะคิลิค
ทาทับได้ แต่หากต้องการมช้สีน้ำมัน ให้ใช้สีรองพื้นทา
ปิดผิวให้เรียบร้อยก่อน |
คุณสมบัติพิเศษ
- ไม่มีส่วนประกอบของสารใยหิน(100% Asbestos Free) จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- เป็นวัสดุไม่ติดไฟ
- ทนทานทุกสภาวะอากาศ สามารถใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร หรือแม้แต่บริเวณที่มีความชื้นสูงๆ ได้เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น
- ปลอดภัยจากเชื้อรา ปลวก มอด และแมลงอันตราย กับเนื้อไม้
- ผ่านกรรมวิธี (Autoclaved Process) หรือการอบความร้อนด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิสูง ทำให้แผ่นมีความคงตัว จนแทบจะไม่มีการยืดหดตัวเลย แม้การใช้งานในที่ที่มีความชื้น และอุณหภูมิสูง
- มีความหนาแน่นสูงเพียงพอที่จะรับแรงกระแทกได้ดี
- มีน้ำหนักเบากว่างานก่ออิฐฉาบปูน ง่ายต่อารใช้งาน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ
- สามารถใช้เครื่องมือช่างทั่ว ๆ ไป เช่น ตะปู ริเวต น็อตเกลียวปล่อย ในการยึดแผ่นเข้ากับโครงคร่าว และสามารถใช้เลื่อยวงเดือนตัดได้เหมือนไม้จริง
- ไม่จำเป็นต้องเว้นร่องรอยต่อระหว่างแผ่น เมื่อใช้งานภายใน
- ใช้ได้กับโครงคร่าวทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโครงไม้จริง โครงซีไลน์ หรือโครงเหล็ก
- เนื่องจากผิวหน้ามีความเป็นด่างน้อย จึงสามารถทาสีหรือพ่นสีทับได้ง่ายมาก
- สามารถกรุผิวหน้าด้วยวัสดุอื่นๆ ได้เช่น วอลล์เปเปอร์ แผ่นลามิเนต กระเบื้องเซรามิก เป็นต้น
- มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง
- Thermal Conductivity น้อยถ่ายเทความร้อนได้ดี และคายความร้อนได้รวดเร็ว
- มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันไฟ
|